Deep into Inner Life โยคะเพื่อค้นหาตัวตนภายในที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงชีวิต

ในความรู้สึกของเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่เคยรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง เหมือนเขาแปลกแยกจากพี่น้องคนอื่นๆ ในครอบครัว รู้สึกว่าตัวเองเป็นปัญหาของครอบครัว เด็กหนุ่มคนนี้เติบโตด้วยความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีอะไรดี ไม่ว่าเขาจะทำอะไรเขาจะรู้สึกด้อยกว่าคนอื่นเสมอ ในวิชาพละเวลามีแข่งขันกีฬาอะไรก็ตาม เขาจะถูกเอาไปเป็นตัวแถมอยู่เสมอ ด้วยความที่ตัวเขาเล็กๆ ผอมๆ ทำให้ความสามารถทางกีฬาของเขาแทบไม่มี อยู่โรงเรียนก็ถูกแกล้งอยู่ตลอดเวลา จนวันหนึ่งเขาได้ค้นพบวิชาที่เรียกว่าโยคะ เขารู้สึกว่าเขาค้นพบบางสิ่งที่เขาชอบและรัก ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา โยคะก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขา และจากวันนั้นชีวิตเขาก็ค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นลำดับ จากด้านร่างกายที่เปลี่ยนไป จากการฝึกโยคะเพื่อตัวเอง จนมาเป็นครูสอนโยคะเพื่อคนอื่น ทำให้ความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า และรักตัวเองมากขึ้น ทำให้ชีวิตที่เปลี่ยนไปนั้นเต็มไปด้วยคุณค่า

 

ครับนั่นมันชีวิตของผมบวกกับความรู้ที่ว่าด้วยเรื่องของ พลังงานที่ศึกษามาตั้งแต่ก่อนเริ่มเล่นโยคะ ทำให้ผมมีมุมมองศาสตร์ของโยคะที่แตกต่างออกไป และโยคะยังนำผม ไปสู่การศึกษาในศาสตร์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของแพทย์แผนจีน และ ระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสัมพันธ์ ของระบบเนื้อเยื่อ และจิตใต้สำนึก

 

จิตของเราเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ มันสามารถสร้างร่างกาย และควบคุมการทำงานของระบบเนื้อเยื่อ และอวัยวะภายใน ร่างกายของเรา จะเป็นไปตาม ภาวะของจิตเมื่อจิตไม่ความเครียด ร่างกายก็จะรู้สึกแข็งตึง เมื่อจิตรู้สึกผ่อนคลาย ระบบเนื้อเยื่อในร่างกายก็รู้สึกผ่อนคลายไปด้วย ผมได้สังเกตนักเรียนที่เข้ามาหาแล้วมีอาการปวดไหล่ปวดหลังซึ่งพบได้บ่อยที่สุด พอถามถึงการใช้ชีวิต และหน้าที่การงานการ มากกว่า 80% มาจากความเครียดในที่ทำงาน ฉะนั้นการที่จะบำบัดอาการที่เรียกว่า ออฟฟิศซินโดรม บางคนคิดว่า ออฟฟิศซินโดรม มากจากการใช้ร่างกายในท่าเดิมนานๆ ถ้าเป็นแบบนั้นจริง เมื่อเราเปลี่ยนอิริยาบถความเจ็บปวดนั้นก็ควรจะหาย แต่ มันก็กลับมาเป็นอีก ลองสังเกตง่ายๆ นะครับ ว่าเวลาที่เราทำงาน ที่ไม่ได้มีความกดดันมากนัก หรือ สนุกกับการทำงาน เราจะไม่ค่อยมีอาการปวดมากนัก แต่พอเจ้านายมายืนดูเราทำงานอยู่ข้างหลังเรา เราจะรู้สึกเกร็งขึ้นมาทันที ถ้าสังเกตให้ละเอียดขึ้นไปอีก เราจะรู้สึกเหมือนมีพลังงานบางอย่างมากองอยู่แถวบ่า และต้นคอ ถ้าสังเกตต่อไป จะรู้สึกว่าหัวไหล่เริ่มมีอาการเกร็งขึ้น ไหล่ทั้งสองข้างยกขึ้น ถ้าความเครียดแบบนี้เกิดขึ้นครั้งเดียว พอกลับบ้านอานน้ำมันก็ควรจะหาย แต่ถ้าความเครียดแบบนี้เกิดขึ้นเป็นประจำมันจะเริ่มกลายเป็นอาการทางร่างกาย เพราะฉะนั้นเราจะไปแก้ที่การบำบัดร่างกายอย่างเดียวไม่ได้ เพราะเดี๋ยวมันก็กลับมาเป็นอีก จะต้องไปแก้ที่ภาวะของจิตด้วย

 

ถ้าเราพูดเรื่องภาวะของจิต มันอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะจับต้องได้ ดังนั้นจิตเราจึงส่งข้อความผ่านทางร่างกายเพื่อให้เรารับรู้ว่า มีอะไรเกิดขึ้นภายใน อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกายเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ภาวะภายในเราเป็นอย่างไร มันเหมือนกับรถที่เราขับ ถ้าเราไม่ใช่ช่างยนต์เราก็ไม่รู้หรอกว่ารถมันมีกลไกลอย่างไร เราแค่เติมน้ำมัน แล้วขับ ไม่เคยเข้าไปดูเลยว่าระบบเป็นอย่างไร นานๆ ที่ก็เอารถไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง หรือบางคนดีหน่อยก็หมั่นล้างรถทุกอาทิตย์ แต่เราไม่รู้รายละเอียดเลยว่าข้างในมันเป็นอย่างไร จนกว่ามันจะเริ่มมีอาการ เราถึงรู้ว่ามันมีอะไรผิดปรกติข้างใน ร่างกายเราก็เช่นเดียวกัน เราบำรุงร่างกายด้วยการกินอาหาร เพื่อที่จะไปเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนร่างกาย แต่ น้อยคนนักที่จะมาสนใจเรื่องของภาวะจิต โดยส่วนมากแล้ว โรคต่างๆ มาจาก การเสียสมดุลทางจิตทั้งนั้น

 

จิตคนเราจะบันทึกประสบการณ์ที่เราเคยได้รับมาตั้งแต่เกิดจากครรภ์มารดา เป็นทารก จิตจะเรียนรู้โลกภายนอกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เมื่อประสาทสัมผัสรับข้อมูลจากภายนอกมันก็จะส่งข้อมูลนั้นไปที่สมอง สมองก็จะประมวลข้อมูลนั้นๆ และเก็บข้อมูลนั้นๆ ไว้ในจิตเรา เมื่อประสาทสัมผัสเราไปสัมผัสกับเหตุการณ์ มันจะกลับไปค้นหาข้อมูลเก่าๆ แล้วแสดงผลเป็นอารมณ์ว่าชอบหรือไม่ชอบ จิตก็จะส่งข้อมูลไปให้เซลล์ต่างๆในร่างกาย แล้วร่างกายก็จะตอบสนองเป็นการแสดงออกทางร่างกายตามความรู้สึกนั้นๆ แล้วมันมาเกี่ยวกับโยคะอย่างไร

 

ถ้าเราแบ่งจิตออกเป็นสองภาคแบบให้เข้าใจง่ายๆ คือ ภาคที่เราใช้คิด หรือเราเรียกว่าจิตคิด หรือ Conscious mind กับจิตที่อยู่ใต้จิตสำนึกเรียกว่าจิตใต้สำนึก หรือ Sub Conscious Mind สมมุติว่า เมื่อไหร่ที่เราทำให้ร่างกายเจ็บปวด แล้วร่างกายมีความรู้สึกว่าไม่ชอบ มันเจ็บ และรู้สึกไม่ปลอดภัย จิตใต้สำนึกเราก็จะส่งสัญญาณไปให้ร่างกายตอนสนองกับความรู้สึกนั้น ทำให้ร่างกายเกร็งเพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้เจ็บมากกว่านี้ พอวันรุ่งขึ้นพอเราจะมาทำท่าเดิมอีก เราก็จะรู้สึกว่าร่างกายต่อต้าน และ ร่างกายจะรู้สึกว่า ไม่ชอบท่านี้ ยกตัวอย่างเช่น ท่า Forward bend หรือ Paschimotta-nasana คนที่ขาดความยืดหยุ่น หรือ แฮมสตริงแข็งก็จะรู้สึกว่าท่านี้ยาก และ ยิ่งบังคับฝืนให้ร่างกายยืดเหยียดมากขึ้น เราจะรู้สึกว่าร่างกายต้าน ยิ่งถ้าครูเข้ามาช่วยกดแล้วยิ่งเจ็บร่างกายก็จะต้านมากขึ้น พอคราวหน้ามาทำท่านี้อีก พอเห็นครูเดินมาเราก็เกร็งต้านแล้ว

 

มีประโยคหนึ่งที่ Vanda Scaravelli กล่าวไว้ในหนังสือ Wakening the Spine ว่า “Movement is the song of the body” and “The body wanted to sings, not screams” การเคลื่อนไหวคือบทเพลงของร่างกาย ร่างกายเราต้องการเริงร่าไม่ใช่ร้าวราน การฝึกโยคะในปัจจุบันเน้นการเอาชนะท่ายากโดยไม่สนใจผลที่จะเกิดขึ้น การฝึกโยคะของเราจะตอบสนองภาวะของชีวิตที่เราเป็น ถ้าเราเป็นคงนิ่งๆ เฉื่อยๆ เราก็คงฝึกโยคะแบบสบายๆ แต่ถ้าเราเป็นคนชอบการแข่งขันและมุ่งมั่น เราก็อาจจะชอบการฝึกโยคะในแนวสายแข็ง หรือ Power Yoga ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดอะไร เพราะเราทุกคนมีทางเลือกที่จะหาประสบการณ์ชีวิตของตัวเองหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Free Will” ผมเพียงแค่อยากจะบอกว่าลองดูวิธีการฝึกโยคะของตัวเองดูว่ามันตรงกับเป้าหมายในการฝึกหรือเปล่า ในเมื่อเราต้องการฝึกโยคะเพื่อสุขภาพ

 

ทำไมเราถึงพาตัวเองไปบาดเจ็บครั้งแล้วครั้งเล่ากับการฝึกโยคะของเรา ตัวผมเองนั้นก็เคยเป็นเช่นนั้น จะทำท่ายาก เพื่อให้ตัวเองรู้สึกว่า ฉันเก่ง เธอหันมามองฉันสิ ตอนนี้ก้นฉันจะติดกับหัวแล้วนะจะ มีใครมองฉันไหม ผมเล่นโยคะไม่ได้มาจากเรื่องปัญหาสุขภาพ แต่เพราะโยคะเป็นการออกกำลังเดียวที่ตัวองทำได้ดีที่สุดในสมัยนั้น เลยอยากให้คนยอมรับ จนได้มาพบกับศาสตร์จิตใต้สำนึก จึงเห็นพฤติกรรมต่างๆ ที่ตัวเองทำโดยไม่รู้ตัว ทำให้เข้าใจการทำงานของจิตกับพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ การสอนโยคะของผมจึงเริ่มเปลี่ยนมาสนใจในเรื่องโยคะภายในมากขึ้น ไม่ใช่แค่เนื้อเยื่อทำงานอย่างไร แต่เข้าในความสัมพันธ์ ของจิต และกาย จึงได้คิดหลักสูตรใหม่ขึ้น เรียกว่า Inner Life Yoga ซึ่งจะเป็นโยคะเพื่อการเปลี่ยนแปลงของชีวิต ไม่ใช่เฉพาะร่างกาย แต่เป็นการเปลี่ยนวิธีคิด วิธีมองร่างกายใหม่ และ การมองชีวิตด้วยมุมมองใหม่ๆ

 

Inner Life Yoga คือการกลับมาค้นพบตัวตนที่แท้จริงของตนเอง กลับมาทำความเข้าใจกระบวนการทางความคิดทั้งด้านการฝึกโยคะ และการใช้ชีวิต ทัศคติของการดำรงชีวิต ซึ่งจะเน้นที่การทำความเข้าใจการทำงานในระดับพลังงาน เมื่อเราเข้าใจการทำงานของพลังงานแล้ว เราจึงสามารถเปลี่ยนร่างกาย เปลี่ยนชีวิตในทุกๆ มิติ ในทาง Quantum Physic หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “The Secret” พลังงานจะดึงเอาพลังงานที่มีคุณภาพเดียวกันเข้ามาหากันเสมอ เมื่อพลังงานเราตกมันก็จะส่งผลให้เรารู้สึกเซื่องซึม หรือไม่มีแรงขับเคลื่อนให้ออกไปหาประสบการณ์ชีวิต แต่เมื่อพลังงานของเรามีมากเกินไป ก็อาจทำให้เราเป็นคนฉุนเฉียวได้ง่าย ขี้โมโห แต่ถ้าพลังงานนั้นมีความพอดี เราก็มีชีวิตที่สมดุล และเป็นประโยชน์ต่อโลก

 

ถ้าเราจะมองในเรื่องของกฎของแรงดึงดูด พลังงานที่เหมือนกันจะดูดเอาพลังงานที่ใกล้เคียงกันเข้ามา เพราะฉะนั้นเมื่อพลังงานเราตก เราเริ่มคิดลบ ปัญหาเริ่มเข้ามาในชีวิต ถ้าเราอยู่ในพลังงานและความคิดลบนานเกินไปเราก็จะเกิดความคุ้นชิน ในสมองเรามี Reticular Activating System หรือที่เรียกย่อๆว่า RAS มันจะทำหน้าที่รับข้อมูลจากประสาทสัมผัสทั้งห้าแล้วส่งข้อมูลลบนั้นไปที่สมองเพื่อให้สมองประมวลผล และแสดงออกเป็นพฤติกรรม เมื่อ RAS ได้รับข้องมูลซ้ำๆ เมื่อเราทำสิ่งเดิมๆ เป็นเวลานานๆ มันก็จะเริ่มชำนาญในการหาข้อมูลนั้นได้เร็วขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเป็นคนขี้บ่น เพราะเราเห็นแต่สิ่งที่ทำให้เรารำคาญใจ เพราะ RAS จะมีความไวในการหาข้อมูลนั้นมาป้อนให้สมอง แต่พอบอกว่าให้มองหาสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข กลับหาได้ลำบาก เพราะฉะนั้นคนที่ขี้บ่น จะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว ไม่ดีพอ จนตัวเองจะต้องบ่นตลอดเวลา RAS มันก็จะคอย หาเรื่องที่มีลักษณะเดียวกันเข้ามาในชีวิตเรา เพราะฉะนั้น เราจึงต้องเปลี่ยนมุมมองของชีวิต เพื่อให้ RAS มองหาสิ่งที่เราต้องการ ให้เกิดขึ้น ในชีวิตเรา ดังนั้น ถ้าเราต้องการให้สิ่งดีๆ เกิดขึ้นในชีวิตเรา เมื่อเราต้องการอะไร ก็ขอให้นึกถึงเรื่องนั้นบ่อยๆ จนเกิดเป็นความเคยชิน แล้วเราก็จะเห็นเรื่องนั้นเข้ามาในชีวิตเราบ่อยขึ้น ถ้าเราสามารถเข้าใจการทำงานของ Reticular Activating System  เราก็จะสามารถคาดเดาว่าอะไรจะเกิดขึ้นในชีวิตเราได้บ้าง

 

 

เรื่องโดย : ศิริรัชต์ กิตติคุณาดุลย์ มูกซ���?�7

latest articles

เข้าสู่ระบบ Asiawellness.com